วันพุธที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2556

นิทานพื้นบ้าน



นิทานพื้นบ้าน 
นิทานพื้นบ้านนี้ ความจริง มีเนื้อหาค่อนข้างยาว หรือบางเรื่องก็ยาวมาก ขนาดหมอลำ ลำทั้งคืนยันสว่าง ยังไม่จบ นั่นแหละ หากเล่าให้ละเอียดได้ ก็เป็นการดีทีเดียว แต่หากละเอียดไม่ได้ ก็คงเป็นเพียงเรื่องย่อ เพื่อให้รู้ว่า นิทานเรื่องนั้นๆ เกี่ยวกับเรื่องอะไร
         นิทานพื้นบ้าน หรือนิทานชาวบ้าน เป็นสาขาสำคัญของคติชาวบ้าน เป็นที่สนใจของนักปราชญ์ นักศึกษาวิชามานุษยวิทยาและวิชาการอื่นๆ เป็นอันมาก การเล่านิทานเป็นเรื่องเก่าแก่ก่อนประวัติศาสตร์ และเป็นที่นิยมแพร่หลายทั่วไปในทุกหนทุกแห่ง ในหมู่ชนทุกชั้น นับตั้งแต่พระราชาลงมาจนถึงคนยากจน (และยังมีนิทานเล่าว่า แม้เทวดาก็ชอบฟังนิทาน ถ้ามนุษย์เล่านิทานในเวลากลางวันจะถูกเทวดาแช่ง เพราะเวลากลางวันเทวดาต้องไปเฝ้า พระอิศวร ไม่มีโอกาสไปชุมนุมกันฟังนิทานที่มนุษย์เล่านั้นด้วย) ถึงแม้ว่าเรื่องในนิทานจะแตกต่างกันไปตามภาคต่าง ๆ ของโลก แต่จุดประสงค์ดั้งเดิมในการเล่านิทานของมนุษย์เป็นอย่างเดียวเหมือนกันหมด นั่นก็คือ มนุษย์เราทั่วไปต้องการเครื่องบันเทิงใจในยามว่างงานประการหนึ่ง และอีกประการหนึ่งเป็นเหตุผลเนื่องมาแต่ศาสนา ซึ่งเป็นเรื่องที่มีอิทธิพลเหนือจิตใจมนุษย์ และเป็นต้นเหตุให้มีนิทานขึ้นมากมาย



นิทานพื้นบ้าน – ความยุติธรรม

just.gif (3804 bytes)
มีครอบครัวหนึ่งพ่อชื่อทอง แม่ชื่อเข็ม นายทองมีลูกสาวสวยอยู่ 2 คน
คนพี่ชื่อกอง คนเล็กชื่อผอง ปกตินายทองเป็นคนที่หวงลูกสาวมาก สาวกอง
และสาวผองมักจะมีหนุ่มมาจีบสับเปลี่ยนวันกันประจำ คือถ้าวันนี้เป็นของสาวกอง
พรุ่งนี้ก็เป็นวันของสาวผอง พวกหนุ่มๆในหมู่บ้านนั้นก็เข้าใจ
แฟนของสาวกองนั้นดีดพิณ แฟนของสาวผองเป่าแคน แต่คืนวันนั้นได้ยินทั้ง
เสียงแคนและเสียงพิณ พี่น้องเลยเกี่ยงกันเข้านอน นายทองจึงโมโหไล่ลูกสาวเข้านอนทั้งสองคน
หนุ่มๆก็ไม่พอใจ พอตกดึกหนุ่มหนึ่งเลยแอบขึ้นไปบนบ้านแล้วขี้ใส่ไว้บนเขียงในครัว
พี่น้องตื่นขึ้นมาตอนเช้าต่างก็เกี่ยงกันทำความสะอาด ต่างก็โทษว่าแฟนของอีกฝ่าย
เป็นคนขี้ พ่อแม่ได้ยินจึงลุกออกมาดู นายทองเดินไปเอามีดโต้มาแล้วฟันฉับลงไป
ตรงกลางขี้พร้อมกับพูดว่า
“อีกองเมี่ยนส่วนนี้ อีผองเมี่ยนส่วนนั้น แม่มึงล้างเขียง กูสิล้างมีด ไป๊”
justice.gif (14106 bytes)

นิทานพื้นบ้าน – ใช้อ้อยต่างแปลง

กาลนานมาแล้ว    ในสมัยที่โลกยังไม่มีแปรงสีฟันใช้นั้น    มีคหบดีผู้หนึ่งมีความรักใคร่
เอ็นดูบุตรสาวของตนมาก    เพราะบุตรสาวของเขานั้นเป็นหญิงที่งามทั้งใบหน้า    และกริยา
วันหนึ่งเห็นว่าบุตรสาวของตนชักจะมีขี้ฟันมากเกรอะกรังอยู่ไรฟันเต็มไปหมด
เวลาพูดจาหรือเข้าใกล้ก็มีกลิ่นเหม็นคลุ้ง    คหบดีผู้นั้นคิดว่าถ้าจะปล่อยให้สภาพการณ์
เป็นเช่นนี้ไม่ดีแน่    นอกจากพวกหนุ่มๆที่เข้ามาติดตอมจะเอือมระอาแล้ว    ย่อมเป็นที่
รังเกียจของสังคมด้วย    แต่ก็ไม่กล้าบอกบุตรสาวตรงๆเพราะเกรงบุตรสาวจะอับอาย
จึงได้หาอุบายโดยบอกให้บุตรสาวไปหาอ้อยมากินให้มากๆ    เพื่อผิวพรรณจะได้สวยงาม
ยิ่งขึ้น    ซึ่งจริงๆแล้วอ้อยเหล่านั้นจะได้ช่วยแปรง    และแทะขี้ฟันให้หลุดไปได้
 
เขาจึงได้ให้เงินลูกสาวเป็นจำนวนมาก    เพื่อให้ไปหาซื้ออ้อยที่สวนข้างๆบ้านมาไว้กิน
แต่ขณะที่บุตรสาวเดินไประหว่างทางยังไม่ทันถึงสวนอ้อย    เห็นพ่อค้าหาบเผือกต้มสวนทางมา
หล่อนอยากกินเป็นกำลัง    จึงซื้อเผือกกินเสียจนหมดเงินแล้วจึงเดินกลับบ้าน
บิดาเห็นหล่อนเดินมาแต่ไกลจึงนึกดีใจว่าขี้ฟันของลูกสาวตนคงหมดเกลี้ยงดีแล้ว
แต่ที่ไหนได้พอหล่อนเผยอยิ้มเท่านั้น    ขี้ฟันกลับพอกพูนเกรอะกรังส่งกลิ่นตลบยิ่งขึ้น
เพราะเผือกได้เข้าไปจับเกาะเต็มไปหมด    คหบดีผู้นั้นเกือบล้มทั้งยืน

เห็นแต่ไกล
[ คงกินอ้อยแล้ว ]

ใกล้เข้ามา
[ ขี้ฟันคงหมดแล้ว ]

[ ชัดเลย...หึ่งเชียว ]
คหบดีจึงถามบุตรสาวว่า “อีหนู   เอ็งไม่ได้ไปซื้ออ้อยกินหรอกหรือ?”
“เปล่าจ้ะพ่อ   ฉันนึกอยากกินเผือกต้ม เลยซื้อกินเสียอิ่ม” บุตรสาวตอบ
“ชะอีเวร    นี่เองขี้ฟันจึงมากขึ้นตั้งบุ้งกี๋”
บุตรสาวได้ยินดังนั้นจึงทราบถึงอุบายของบิดา    ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา
จึงหมั่นซื้ออ้อยกินทุกๆวัน    ฟันจึงสอาดหมดจดยิ่งขึ้น
 

นิทานพื้นบ้าน – แม่ยายเกลียดสะใภ้

สีมากำพร้าพ่ออยู่กับแม่สองคน
พอโตเป็นหนุ่มก็แต่งงาน
ในครอบครัวก็รักใคร่กันดี   แต่สาวๆที่ผิดหวังจากสีมา
อิจฉาจึงยุแหย่แม่ผัวให้เกลียดลูกสะใภ้
ตอนแรกลูกสะใภ้ก็ไม่โต้ตอบเวลาแม่ผัวดุด่า
นานเข้าก็โต้ตอบไปบ้าง   ทำให้สีมาหนักใจคิดหาวิธีให้ทั้งสอง
ปรองดองกัน   จึงบอกแม่ว่าจะฆ่าเมียตัวเองให้เพื่อให้แม่สบายใจ
แต่ก่อนจะฆ่าให้แม่ทำดีกับลูกสะใภ้
สัก 15 วันก่อน   และก็ไปบอกเมียให้ทำดีกับแม่ 15 วันเช่นกัน
แล้วจะฆ่าแม่ให้
ตั้งแต่นั้นมาทั้งสองต่างทำดีต่อกัน   จนเกิดรักใคร่กันจริงๆ
พอครบ 15 วันสีมาทำท่าจะฆ่าเมียแม่ก็เข้าห้ามไว้
พอจะฆ่าแม่เมียก็ห้ามไว้
สีมาจึงเอาเคียวเก็บที่เดิมพร้อมยิ้มอย่างสุขใจ
ที่แก้ปัญหาลูกสะใภ้กับแม่เกลียดกันได้สำเร็จ

นิทานพื้นบ้าน – แบ่งของ

ชาวนาผู้หนึ่งมีบุตรสาวอยู่สองคน วันหนึ่งอยากจะทดลองปัญญาของบุตรทั้งสอง
จึงส่งแตงโมให้บุตรทั้งสอง 1 ใบ โดยบอกว่าให้ทั้งสองไปแบ่งกันกินให้เท่าๆกัน
เพื่อจะได้ไม่ต้องโต้เถียงทะเลาะเบาะแว้งกันเรื่องได้มากได้น้อย ถ้าแบ่งไม่ได้เท่าๆกัน
เกิดทุ่มเถียงกันขึ้นเมื่อใด ก็จะต้องถูกลงโทษทั้งสองคน
เด็กทั้งสอง เมื่อได้รับแตงโมมาแล้วไม่รู้ว่าจะผ่าแบ่งกันอย่างไรจึงจะได้ส่วนเท่าๆกัน
ด้วยเกรงจะต้องถูกทำโทษ ในที่สุดจึงตกลงกันในวิธีการดังนี้ โดยที่เด็กทั้งสอง เห็นว่า
เป็นวิธีที่ยุติธรรม คือ ถ้าหากใครเป็นผู้ผ่าแตงโมออกเป็นสองซีก ผู้นั้นจะต้องเป็นฝ่าย
เลือกทีหลัง และจะต้องยอมให้ฝ่ายที่ไม่ใช่เป็นคนผ่าเลือกก่อน ทั้งนี้ก็เพื่อป้องกันไม่ให้
คนผ่าลำเอียง โดยผ่าเป็นชิ้นโตชิ้นหนึ่งและชิ้นเล็กชิ้นหนึ่ง แล้วคนผ่ารีบเลือกเอาชิ้นโต
เป็นของตนเองเสียก่อน
เมื่อเด็กทั้งสองได้ผ่าแตงโมแบ่งกันเสร็จแล้ว จึงรีบวิ่งไปเล่าให้บิดาฟัง บิดามีความพอใจ
ในสติปัญญาของเด็กทั้งสองนั้นมาก

นิทานพื้นบ้าน – พื้นเมืองเวียงจันทร์

อดีตกาลนานมา   เวียงจันทน์กับไทยเป็นศัตรูกัน   ไทยยกทัพไปตีเวียงจันทน์หลายครั้ง
แต่ก็ไม่ชนะสักทีทั้งที่มีกำลังมากกว่า   เพราะเวียงจันทน์มีพระยานาคมาช่วยเหลือ   คือเมื่อเจ้าเมืองตีกลองขึ้น
พระยานาคก็จะโผล่ขึ้นมาจากน้ำพ่นพิษใส่ทหารไทยตายหมด
กษัตริย์ไทยทราบเรื่องจึงวางแผนให้เชียงเมี่ยง   ที่เป็นคนฉลาดหลักแหลม
ปลอมเป็นหมอมอ(หมอโหร)   เข้าไปในเวียงจันทน์   เมื่อได้โอกาสเข้าพบเจ้าอนุ
เจ้าเมืองเวียงจันทน์   หมอมอทำนายว่าเจ้าอนุวงศ์จะได้รับมรดกที่เป็นเงินฝังไว้ที่ครกมอง
เมื่อเจ้าอนุให้คนไปขุดดูก็ได้พบจริงๆ   จึงทำให้เกิดความศรัทธาเชื่อถือในหมอมอคนนี้มาก
ส่วนสาเหตุที่พบนั้น   เนื่องจากเชียงเมี่ยงให้คนเอาไปฝังไว้ก่อนแล้ว
ต่อมาเชียงเมี่ยงให้คนทำว่าวติดธนู   แล้วปล่อยขึ้นสูงมากจนมองไม่เห็น   ได้ยินแต่เสียงธนู
เจ้าอนุแปลกใจมากหาสาเหตุไม่ได้จึงให้เรียกหมอมอมาทำนายดู   หมอมอปลอม(เชียงเมี่ยง)
ก็ทำนายว่าจะมีเรื่องเดือดร้อนแก่บ้านเมือง   เพราะเสียงนั้นคือภูตผีปีศาจที่ร้องโหยหวนจะลงมากินผู้คน
พระราชา อนุ ถามว่าจะมีวิธีแก้อย่างไร   หมอมอปลอมบอกว่าจะต้องไปตัดลิ้นกลองใบนั้น
และให้อุดรูพระยานาคเสีย   เสียงนั้นก็จะหายไปและภูติผีปีศาจจะไม่ลงมากินผู้คน
เจ้าอนุหลงกลจึงให้คนทำตาม
ฝ่ายเชียงเมี่ยงก็ให้คนไปตัดสายว่าว   เสียงนั้นก็หายไป   จากนั้นเชียงเมี่ยงก็ให้สัญญาณ
ให้กองทัพของไทยเข้าตีเวียงจันทน์   เจ้าอนุให้คนไปตีกลองเพื่อให้พระยานาคมาช่วย   แต่กลองก็ตีไม่ดัง
เพราะสิ้นลิ้นไปแล้ว   ประกอบกับพระยานาคก็ถูกอุดรู   พระยานาคจึงไม่ได้ขึ้นมาช่วยทำให้เวียงจันทน์ต้องแพ้แก่ไทย
เจ้าอนุนั้นถูกฆ่าตาย   แล้วเวียงจันทน์ก็ตกเป็นเมืองขึ้นของไทย
audru.jpg (7087 bytes)

นิทานพื้นบ้าน – เที่ยงยังไม่บ่อย

มีชายคนหนึ่งพร้อมกับเพื่อน ไปนั่งรอรถไฟที่สถานี รถจะมาถึงเวลาบ่ายโมง
ชายคนนั้นก็บอกให้เพื่อนไปดูนาฬิกาที่ตั้งอยู่ในบริเวณสถานีว่า บ่ายโมงแล้วหรือยัง
เพื่อนก็วิ่งไปดู แล้วก็กลับมาบอกว่า “เที่ยง…ยังไม่บ่าย” ทั้งสองก็นั่งรอรถกันต่อไป
นั่งรอกันอยู่พักใหญ่ ก็บอกให้เพื่อนวิ่งไปดูนาฬิกาอีกที ว่าบ่ายโมงหรือยัง
เพื่อนก็วิ่งไปดูอีก แล้วก็กลับมาบอกว่า “เที่ยง…ยังไม่บ่าย”
ก็นั่งรอรถกันอีก จนกระทั่งตะวันคล้อยไปแล้ว ก็บอกให้เพื่อนวิ่งไปดูนาฬิกาอีกสักที
เพื่อนก็วิ่งไปดู แล้วก็กลับมาบอกว่า “เที่ยง…ยังไม่บ่าย” เหมือนเดิม
ชายคนนั้นก็เกิดความสงสัย จึงพูดกับเพื่อนว่า “ไหน นาฬิกาที่เอ็งวิ่งไปดูมันอยู่ตรงไหน”
เพื่อนก็พาไปดูพร้อมกับชี้บอกว่า “นี่ไงล่ะ”
ชายคนนั้นหัวเราะไม่ออกจึงพูดออกมาว่า
“โธ่เอ๋ย! นั่นมันเครื่องชั่งน้ำหนักต่างหาก ไม่ใช่นาฬิกา เอ็งเข้าใจผิดไปแล้ว”

นิทานพื้นบ้าน – เศรษฐีเจ้าเล่ห์กับลูกสาวชาวนา


เศรษฐีคนหนึ่งชอบใจลูกสาวชาวนายากไร้ผู้หนึ่ง
เขาเชิญชาวนากับลูกสาวไปที่สวนในคฤหาสน์ของเขา
เป็นสวนกรวดกว้างใหญ่ที่มีแต่กรวดสีดำกับสีขาว
เศรษฐีบอกชาวนาว่า ..
ชาวนาไม่ตกลง
เศรษฐีบอกว่า “ถ้าเช่นนั้นเรามาพนันกันดีไหม
ข้าจะหยิบกรวดสองก้อนขึ้นมาจากสวนกรวดใส่ในถุงผ้านี้
ก้อนหนึ่งสีดำ ก้อนหนึ่งสีขาว
ให้ลูกสาวของท่านหยิบก้อนกรวดจากถุงนี้
หากนางหยิบได้ก้อนสีขาว ข้าจะยกหนี้สินให้ท่าน
และนางไม่ต้องแต่งงานกับข้า
แต่หากนางหยิบได้ก้อนสีดำ นางต้องแต่งงานกับข้า
และแน่นอน ข้าจะยกหนี้ให้ท่านด้วย”
ชาวนาตกลง
เศรษฐีหยิบกรวดสองก้อนใส่ในถุงผ้า
หญิงสาวเหลือบไปเห็นว่ากรวดทั้งสองก้อนนั้นเป็นสีดำ
 เธอจะทำอย่างไร?
หากเธอไม่เปิดโปงความจริง ก็ต้องแต่งงานกับเศรษฐีขี้โกง
หากเธอเปิดโปงความจริง เศรษฐีย่อมเสียหน้า และยกเลิกเกมนี้
แต่บิดาของเธอก็ยังคงเป็นหนี้เศรษฐีต่อไปอีกนาน
ลูกสาวชาวนาเอื้อมมือลงไปในถุงผ้า  หยิบกรวดขึ้นมาหนึ่งก้อน
พลันเธอปล่อยกรวดในมือร่วงลงสู่พื้น
กลืนหายไปในสีดำและขาวของสวนกรวด
เธอมองหน้าเศรษฐี เอ่ยว่า “ขออภัยที่ข้าพลั้งเผลอปล่อยหินร่วงหล่น
แต่ไม่เป็นไร ในเมื่อท่านใส่กรวด
สีขาวกับสีดำอย่างละหนึ่งก้อนลงไปในถุงนี้
ดังนั้นเมื่อเราเปิดถุงออกดูสีกรวดก้อนที่เหลือ ก็ย่อมรู้ทันทีว่า
กรวดที่ข้าหยิบไปเมื่อครู่เป็นสีอะไร”
ที่ก้นถุงเป็นกรวดสีดำ
“…ดังนั้นกรวดก้อนที่ข้าทำตกย่อมเป็นสีขาว”
ชาวนาพ้นสภาพลูกหนี้ และลูกสาวไม่ต้องแต่งงานกับเศรษฐีขี้โกงคนนั้น 
วินทร์ เลียววาริณ

นิทานพื้นบ้าน – ตำนานชูชก

ปรากฏในมหาเวสสันดรชาดก 
พระเวสสันดร
อันเป็นชาติสุดท้ายของการสั่งสมบารมีเพื่อการตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในอนาคต

ชูชกเป็นพราหมณ์อยูในเมืองกลิงคราษฎร์ เที่ยวท่องขอทานไปทั่ว และด้วยนิสัยประหยัด มัธยัสถ์ รู้จักอดออม เงินที่ขอเขามาเก็บไว้จึงมากมายเข้าขั้นเศรษฐี ชูชกนำไปฝากเพื่อนพราหมณ์ไว้
ครั้นเมื่อกลับไปทวงถาม ปรากฎว่าเพื่อนได้ใช้เงินหมดไปแล้ว
เลยยกลูกสาวคือนางอมิตดาวัยแรกรุ่นสวยงามให้แทน


ทั้งที่ชูชกมีรูปร่างอุบาทว์อัปลักษณ์ยิ่งนัก แต่นางอมิตดาก็ขยันปรนนิบัติสามีเป็นอย่างดี
 นางตักน้ำ ตำข้าว หุงหาอาหาร ดูแลบ้านเรือนไม่มีขาดตกบกพร่อง  ความประพฤติที่ดีเพียบพร้อมของนางอมิตดาทำให้เป็นที่สรรเสริญของบรรดา พราหมณ์ทั้งหลายในหมู่บ้านนั้น ในไม่ช้า บรรดาพราหมณ์เหล่านั้นก็พากันตำหนิติเตียนภรรยาของตนที่มิได้ประพฤติตนเป็น แม่บ้านแม่เรือนอย่าง นางอมิตดา
ทำให้พวกภรรยาพราหมณ์อิจฉาริษยามาคอยด่าทอนางอมิตดาอยู่ทุกวัน
นางอมิตดามาเล่าให้ชูชกฟัง ชูชกจึงบอกว่าต่อไปนี้นางไม่ต้องทำการงานสิ่งใด
ชูชกจะเป็นฝ่ายทำให้ทุกอย่าง นางอมิตดาจึงว่า ..

“ภรรยาที่ดีจะทำเช่นนั้นได้อย่างไร จะปล่อยให้สามีมาปรนนิบัติรับใช้ เราทำไม่ได้หรอก ลูกหญิงที่พ่อแม่อบรมสั่งสอนมาดี ย่อมจะไม่นั่งนอนอยู่เฉยๆ ดีแต่ชี้นิ้วให้ผู้อื่นปรนนิบัติตน นี่แน่ะ ชูชก ถ้าท่านรักเราจริง ท่านจงไปหาบริวารมาปรนนิบัติรับใช้เราดีกว่า”
ชูชกได้ฟังดังนั้นก็อัดอั้นตันใจ ไม่รู้จะไปหาข้าทาสหญิงชายมาจากไหน นางอมิตดา จึงแนะว่า
“ขณะนี้ พระเวสสันดรเสด็จออกมาจากเมืองสีพี มาทรงบำเพ็ญพรตอยู่ในป่า พระองค์เป็นผู้ใฝ่ในการบริจาคทาน
ท่านจงเดินทางไปขอบริจาคพระชาลี กัณหา โอรสธิดาของพระเวสสันดรมาเป็นข้าทาสของเราเถิด”
ชูชกจึงไปทูลขอ พระโอรสธิดาเพื่อเป็นข้าช่วงใช้ของตน พระเวสสันดรทรงมีพระทัยยินดีที่จะทรงกระทำบุตรทาน
คือ การบริจาคบุตรเป็นทานเพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่น
เมื่อได้ตัวพระชาลี กัณหา แล้วระหว่างเดินทางกลับบังเอิญผ่านไปหน้าที่ประทับพระเจ้าสญชัยทรงทอด พระเนตรเห็นพระนัดดาทั้งสองก็ทรงจำได้ จึงให้เสนาไปพาเข้ามาเฝ้า ชูชกทูลว่า พระเวสสันดรทรงบริจาคพระชาลีกัณหาให้เป็นข้าทาสของตนแล้ว
พระเจ้าสญชัยก็โปรดให้เบิกสมบัติท้องพระคลังมาไถ่ตัวพระนัดดาจากชูชก และโปรดให้จัดข้าวปลาอาหารมาเลี้ยงดูชูชก
ชูชกพราหมณ์เฒ่าขอทาน ไม่เคยได้บริโภคอาหารดีๆ ก็ไม่รู้จักยับยั้ง บริโภคมาจนทนไม่ไหว ถึงแก่ความตายในที่สุด


นิทานพื้นบ้าน – ตำขนมครก

ไอ้กะทิ หนุ่มน้อยคนรักของหนูแป้งอ้กะทิ หนุ่มน้อยแห่งดงมะพร้าวเตี้ย  แอบมีความรักกับ หนูแป้ง หนูแป้งสาวงามแห่งหมู่บ้านทุ่งมะพร้าวเตี้ยสาวสวยประจำหมู่บ้านซึ่งเป็นลูกสาวคนเดียวของผู้ใหญ่บ้าน  ทั้งคู่เจอกันวันลอยกระทง  และสัญญากันต่อหน้าพระจันทร์ ไม่ว่าข้างหน้าแม้จะมีอุปสรรคขวางกั้นเพียงใด ทั้งคู่ก็จะขอยึดมั่นความรักแท้ที่มีต่อกันชั่วฟ้าดินสลาย
ไอ้กะทิ ก้มหน้าก้มตาเก็บหอมรอมริบหาเงินเพื่อมาสู่ขอลูกสาวจากผู้ใหญ่บ้านฮะฮ่า..ข้านี่แหละผู้ใหญ่บ้านทุ่งมะพร้าวเตี้ย.. แต่กลับถูกปฏิเสธแถมยังโดนผู้ใหญ่ส่งชายฉกรรจ์พร้อมอาวุธครบมือมาลอบทำร้าย  แต่ไอ้กะทิก็ไม่ว่ากระไร  มันพาร่างอันสะบักสะบอมกลับไปบ้าน นอนหยอดน้ำข้าวต้มซะหลายวัน  แต่ใจยังตั้งมั่นว่า วันหน้าจะมาสู่ขอหนูแป้งใหม่จนกว่าผู้ใหญ่จะใจอ่อน
แต่แล้วความฝันของไอ้กะทิ ก็พังพินาศเมื่อผู้ใหญ่ยก หนูแป้ง ลูกสาวคนสวยให้แต่งงานกับปลัดหนุ่มจากบางกอก ไอ้กะทิ รู้ข่าวจึงรีบกระเสือกกระสนหมายจะมายับยั้งการแต่งงานครั้งนี้   ซึ่งผู้ใหญ่บ้านก็วางแผนป้องกันไว้แล้ว  โดยขุดหลุมพรางดักรอไว้ แต่แม่แป้งแอบได้ยินแผนร้ายเสียก่อน จึงลอบหนีออกมาหมายจะห้ามหนุ่มคนรักไม่ให้ตกหลุมพราง
คืนนั้นเป็นคืนเดือนแรม หนูแป้งวิ่งฝ่าความมืดออกมาเพื่อดักหน้าไอ้กะทิ   ไอ้กะทิเห็นหนูแป้งวิ่งมาก็ดีใจทั้งคู่รีบวิ่งเข้าหากัน  ฉับพลัน!!…ร่างของหนูแป้งก็ร่วงหล่นลงไปในหลุมพรางของผู้ใหญ่ฯผู้เป็นพ่อ  ต่อหน้าต่อตาไอ้กะทิ  อารามตกใจนายกะทิก็รีบกระโดดตามลงไปเพื่อช่วยเหลือหนูแป้งอารามดีใจสมุนชายฉกรรจ์ของผู้ใหญ่บ้านซึ่งแอบซุ่มอยู่   ก็รีบเข้ามาโกยดินฝังกลบหลุมที่ทั้งคู่หล่นลงไป  เพราะคิดว่าในหลุมมีเพียงไอ้กะทิผู้เดียว …
รุ่งเช้าผู้ใหญ่บ้านสั่งให้ขุดหลุมเพื่อดูผลงาน  แทบไม่เชื่อสายตาเบื้องล่างปรากฏร่างของ ไอ้กะทิตระกองกอดทับร่างหนูแป้งลูกสาวของตน  ทั้งสองนอนตายคู่กันอย่างมีความสุข  เมื่อรอยยิ้มถูกเปลี่ยนเป็นน้ำตา  ผู้ใหญ่บ้านรำพึงต่อหน้าศพของลูกสาวว่า..
พ่อไม่น่าคิดทำลายความรักของลูกเลย”
ตั้งแต่นั้นมาอนุสรณ์แห่งความรักที่กระทำสืบทอดกันมาจนเป็นประเพณี ทุกแรม ๖ ค่ำ เดือน ๖ ชาวบ้านที่ศรัทธาในความรักของไอ้กะทิ กับ แม่แป้ง ก็จะตื่นตั้งแต่เช้ามืด เข้าครัวเพื่อทำขนมที่หอมหวานปรุงจากแป้ง และกะทิ บรรจงหยอดลงหลุม  พอสุกได้ที่ก็แคะจากหลุม แล้วนำมาวางคว่ำหน้าซ้อนกันเป็นสัญลักษณ์ว่า “จะได้อยู่ร่วมกันตลอดไป” ขนมนี้จึงถูกเรียกขานกันในนาม “ขนมแห่งความรัก” หรือ ขนม คน-รัก-กัน ต่อมาถูกเรียกย่อ ๆ ว่า ‘ขนม ค-ร-ก’ นั่นเอง
ขนม ค ร ก จึงเป็นขนมที่คนนิยมกินกันจนทุกวันนี้

นิทานพื้นบ้าน – ชายชรากับลังเหล็ก

กาลครั้งหนึ่ง ยังมีคุณลุงอยู่ท่านหนึ่ง ในช่วงวัยหนุ่มคุณลุงท่านนี้เป็นหัวหน้าคนงานอยู่ในเหมืองทองคำมีรายได้ดีมาก แต่คุณลุงท่านนี้ไม่เคยเก็บเงินเลยมีเท่าไรก็ใช้หมด เนื่องจากคุณลุงเป็นคนจิตใจดีใครมาหยิบยืมก็ให้ เลี้ยงเพื่อนฝูงตลอด คุณลุงมีเพื่อนเยอะมาก จนกระทั่งคุณลุงท่านนี้เกษียณอายุจากการทำงาน ปรากฏว่าไม่มีเงินเหลือเลยจากชีวิตการทำงานอันยาวนาน คุณลุงมีลูกอยู่ 5 คน เมื่อคุณลุงไม่มีเงินก็จำเป็นต้องไปอาศัยอยู่บ้านลูกๆ ทั้ง 5 คน
วันจันทร์ ก็ไปอยู่บ้านลูกสาว ก็ถูกลูกเขยพูดจากระทบกระเทียบ เช่น “ทำไมคุณพ่อคุณไม่ไปบ้านลูกคนอื่นบ้างนะ ผมจะทำอะไรก็อึดอัดจริงๆ ”
วันอังคาร ก็ไปอยู่บ้านลูกชาย ก็ถูกหลาน และลูกสะใภ้กระทบกระเทียบ เช่น “รำคาญคุณปู่จังเลยกับข้าวที่หนูชอบดูสิคุณปู่ทานหมดเลย ทำไมคุณปู่ไม่ไปบ้านอื่นบ้าง” เป็นเช่นนี้ตลอด คุณลุงก็เปลี่ยนไปอยู่บ้านลูกคนนั้นทีคนนี้ที ก็ถูกลูกบ้าง ลูกเขยบ้าง ลูกสะใภ้บ้าง หลานบ้างพูดจาถากถางอยู่ตลอด แต่คุณลุงก็ต้องทน เพราะคุณลุงไม่มีเงินเก็บแม้แต่บาทเดียว
อยู่มาวันหนึ่ง คุณลุงตัดสินใจเรียกลูกๆ ทุกคนมาแล้วบอกว่า “พ่อจะไม่อยู่สัก 2 ปีนะลูก เพราะเพื่อนพ่อที่เป็นเจ้าของเหมืองทองคำมันเขียนจดหมายมาขอร้องให้พ่อไปช่วยงานที่เหมืองทองคำของมัน พ่อจำเป็นต้องไปช่วยเขาจริงๆ” ลูกๆ ได้ฟังดังนั้นก็ดีใจสนับสนุนเพื่อให้คุณลุงท่านนี้ไปให้พ้นๆ จะได้ไม่เป็นภาระอีกต่อไป
เมื่อครบ 2 ปี คุณลุงท่านนี้ก็กลับมาพร้อมกับลังเหล็กใบใหญ่ 1 ใบ ไปไหนแกก็ลากไปด้วย ลูกๆ ก็พากันแปลกใจและถามว่า “ลังอะไร” คุณลุงตอบว่า “เป็นสมบัติชิ้นสุดท้ายที่ได้มาจากเหมืองทองคำของเพื่อน ถ้าใครดูแลพ่อจนถึงวาระสุดท้ายก็จะมอบสมบัติในลังเหล็กให้ทั้งหมด” ปรากฏว่า ลูกๆ พากันตื่นเต้น ต่างอาสามาดูแลคุณพ่อกันยกใหญ่
วันจันทร์ คุณลุงก็อยู่กับลูกสาวคนโต ลูกเขยกับหลานก็พากันเอาใจบีบนวดให้ หาของกินดีๆ มาให้ แต่ยังไม่ทันไรลูกชายคนที่สองก็มาตามให้ไปอยู่ด้วย และก็เช่นกันยังไม่ทันไร ลูกสาวคนที่สาม ก็มาตามให้ไปอยู่ด้วยอีก ปรากฏว่าลูกๆ ทั้ง 5 คน ของคุณลุงต่างแย่งกันเอาใจและปรนนิบัติคุณลุงท่านนี้อย่างดี แต่เวลาไปไหนคุณลุงก็จะลากลังเหล็กใบนี้ไปด้วยตลอด
เวลาผ่านไป 7 ปี คุณลุงท่านนี้เสียชีวิตลง หลังงานพิธีศพลูกๆ ทุกคนพากันมานั่งล้อมลังเหล็กใบนี้เพื่อแบ่งสมบัติกัน ลูกสาวคนโตเป็นคนเปิดฝาลังเหล็ก พบว่ายังมีผ้าสีขาวปิดอยู่อีกชั้นหนึ่ง และมีจดหมายฉบับหนึ่งวางอยู่ ลูกสาวคนโตก็เปิดอ่านให้น้องๆ ฟัง เนื้อความในจดหมายเขียนไว้ว่า
นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า อย่าประมาทและอย่าคาดหวังว่าใครจะเลี้ยงดูเรา ให้เร่งเก็บออมเสียตั้งแต่เนิ่นๆ จะได้มีชีวิตบั้นปลายที่สุขสบาย
ได้ฟังนิทานเรื่องนี้ทีไรให้รู้สึกสะท้อนใจทุกครั้ง และไม่เคยคิดว่า เป็นเพียงนิทานเพราะเหตุการณ์แบบนี้อาจเกิดขึ้นได้กับทุกคนที่ไม่เตรียมเก็บออมเงินเสียตั้งแต่เนิ่นๆ ….พึ่งพาใครไหนเรา..จะดีเท่าพึ่งพาตัวเราเอง

แหล่งที่มา    
http://xn--o3cdbaaf0a2nen1byqc.whitemedia.org/